โครงการชลประทานตาก - สำนักชลประทานที่ 4
๐ โครงการชลประทานตาก
1.1 ที่ตั้ง
โครงการชลประทานตาก หมู่ที่ 6
บ้านน้ำโจน ตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก
สังกัด สำนักชลประทานที่ 4
สร้างเมื่อ พ.ศ. 2501
พื้นที่รวมทั้งจังหวัด 10,255,000 ไร่
พื้นที่เกษตรกรรมทั้งจังหวัด 1,087,494 ไร่
พื้นที่ชลประทาน 67,800 ไร่
แบ่งพื้นที่ส่งน้ำและบำรุงรักษาออกเป็น 3 ฝ่าย
1. ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1 ควบคุมพื้นที่เขตอำเภอเมือง
พื้นที่ชลประทาน 22,000 ไร่
2. ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 2 ควบคุมพื้นที่เขตอำเภอบ้านตากและอำเภอสามเงา
พื้นที่ชลประทาน 24,700 ไร่
3. ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 3 ควบคุมพื้นที่เขตอำเภอแม่สอด อำเภอแม่ระมาด
อำเภอท่าสองยาง อำเภอพบพระและอำเภออุ้มผาง พื้นที่ชลประทาน 21,100 ไร่
๐ ประวัติความเป็นมา
โครงการชลประทานตาก หมู่ที่ 6 บ้านน้ำโจน ตำบลวังหิน อำเภอเมือง จังหวัดตาก พิกัด 47 QMU 158606 ระวาง 4842 แผ่นที่ 4 อยู่ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักชลประทานที่ 4
เนื่องจากพื้นที่เขตจังหวัดตากเดิมเป็นพื้นที่ไม่มีการชลประทานได้อาศัยน้ำฝน โดยธรรมชาติมาประกอบอาชีพการเกษตรตามฤดูกาล หากฝนแล้งไม่ตกตามฤดูกาล การทำนาและปลูกพืชไร่ได้รับความเสียหายพื้นที่ส่วนใหญ่ ในการทำเกษตรกรรมเป็นพื้นที่แคบๆ ตามริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่งตามที่ราบเชิงเขา
ในการพัฒนาลุ่มแม่น้ำปิงในเขตจังหวัดตาก กรมชลประทานได้ดำเนินการก่อสร้างเขื่อนกักเก็บน้ำและผลิตกระแสไฟฟ้าที่อำเภอสามเงา จังหวัดตาก จึงจัดสรรที่ทำกินให้แก่เกษตรกร ที่อพยพจากพื้นที่น้ำท่วมในเขตตำบลบ้านนาอำเภอสามเงา เพื่อให้ราษฎรมีที่พักอาศัยและประกอบอาชีพทำกิน โดยสร้างโรงสูบน้ำ 2 แห่ง มีระบบส่งน้ำและอาคารในคลองส่งน้ำ เพื่อควบคุมการส่งน้ำในเขตพื้นที่โครงการเรียกว่า "โครงการจัดสรรอาชีพสามเงา" อันได้แก่โครงการที่ 9 และ10 ของตอนที่ 2 ในปัจจุบัน
หลังจากเขื่อนภูมิพลสร้างเสร็จแล้วปริมาณน้ำในแม่น้ำปิงที่เคยไหลป่าท่วมพื้นที่เพาะปลูกทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำปิง ทำให้พื้นที่ที่เคยได้รับน้ำจากแม่น้ำปิง และน้ำฝนโดยธรรมชาติได้รับน้ำน้อยลง จึงทำให้การเพาะปลูกไม่ได้ผลเท่าที่ควร
กรมชลประทานจึงได้วางแผนสร้างโรงสูบน้ำ เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ทั้ง 2 ฝั่งริมแม่น้ำปิง ประกอบกับในระยะเวลานั้น ทางราชการได้กำหนดให้จังหวัดตากเป็นศูนย์กลางพัฒนาภาคเหนือ ดังนั้นคณะกรรมการ ภาคเหนือ จึงมอบหมายให้กรมชลประทานพิจารณาช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกตามริมแม่น้ำปิงทั้ง 2 ฝั่ง ซึ่งเคยทำการเกษตรด้วยน้ำฝนแต่เพียงอย่างเดียวเสียในคราวเดียวกัน
กรมชลประทาน ได้กำหนดแผนสำหรับช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูก ริมฝั่งแม่น้ำปิงทั้ง 2 ฝั่ง ออกเป็นโรงสูบน้ำต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันแบ่งเป็น 2 ตอน คือตอนที่ 1 อำเภอเมืองตาก ประกอบด้วย หน่วยสูบน้ำที่ 1,4,5,6,7 และ8 ตอนที่ 2 คือ อำเภอบ้านตาก,อำเภอสามเงา ประกอบด้วย หน่วยสูบน้ำที่ 2,3,9 และ 10 แต่ละหน่วยมีโรงสูบน้ำจากแม่น้ำปิง พร้อมทั้งระบบการส่งน้ำและอาคารประกอบเพื่อควบคุมการส่งน้ำโดยคลองส่งน้ำเป็นคลองดาดด้วยอิฐ เพื่อเป็นการสนองนโยบายของทางรัฐบาลในสมัยนั้น ซึ่งการส่งเสริมให้ราษฎรมีอาชีพในการเผาอิฐ เพื่อเพิ่มพูนรายได้การอุสาหกรรมในครอบครัว ซึ่งดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่นั้นมารวมทั้ง 2 ตอน มี 10 หน่วยสูบน้ำเรียกว่า "โครงการช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกลุ่มแม่น้ำปิง"
๐ ลักษณะทั่วไปของโครงการ
2.1 โครงการชลประทานตาก แบ่งหน่วยงานใหญ่ ๆ ออกเป็น 5 ฝ่าย ดังนี้
1. ฝ่ายวิศวกรรม
2. ฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน
3. ฝ่ายช่างกล
4. ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษา
5. ฝ่ายปฏิบัติการสูบน้ำ
2.2 โครงการชลประทานตาก แบ่งงานออกเป็น 3 งาน ดังนี้
1. งานธุรการ การเจ้าหน้าที่ -นิติการ
2. งานบัญชีและการเงิน
3. งานพัสดุ